EN / TH

บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลความยั่งยืน ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของผู้อำนวยการแต่ละแผนกในการควบคุมการดำเนินงาน ซึ่งส่วนหนึ่งในหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าวคือ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ยับยั้งการก่อมลพิษและลดการปล่อยก๊าซ CO2 ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ โดยยึดหลักความยั่งยืนเป็นที่ตั้งหลัก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

การจัดการของเสีย
เป้าหมายระยะสั้น
รีไซเคิล
%
ขยะไม่อันตรายทั้งหมด

 

แยกขยะ
%
ที่อาคารแอร์เอเชีย อะคาเดมี่
เป้าหมายระยะยาว
ปริมาณขยะเสียจากสถานีหลักไปสู่บ่อ
ฝังกลบเป็นศูนย์
ภายในปี 2593

 

เครือข่ายพันธมิตรที่ร่วมมือบริหารจัดการขยะให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุด
การจัดการน้ำ
เป้าหมายระยะสั้น
ลดการใช้น้ำให้มีปริมาณไม่เกิน
ลิตรต่อหนึ่งเที่ยวบิน

 

รีไซเคิลอย่างน้อย
%
ของน้ำทิ้งทั้งหมด
การจัดการก๊าซเรือนกระจก
เป้าหมายระยะสั้น
ลด Carbon Intensity Ratio
3gCO2/RPK
ต่อปี

 

ควบคุมการปล่อยก๊าซ CO2 ให้
ไม่เกิน %
ของปี 2562
เป้าหมายระยะยาว
ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคการบิน ในประเทศไทยให้เป็น
ในปี 2593
การจัดการพลังงาน
เป้าหมายระยะสั้น
ติดตั้งแผง
โซลาร์เซล
ที่ตึกแอร์เอเชีย อะคาเดมี่

 

เปลี่ยนหลอดไฟในสำนักงานทุกสถานีให้เป็น
LED
เป้าหมายระยะยาว
ทดแทนการใช้ไฟฟ้าอาคารแอร์เอเชีย อะคาเดมี
%
ด้วยไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาเซลล์

การจัดการของเสีย

บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีความมุ่งมั่นบริหารจัดการขยะที่เกิดจากกระบวนการทำงานและชีวิตประจำวัน การจัดการขยะนั้นถือเป็นพื้นฐานของการกำจัดของเสียขององค์กร บริษัทได้ตั้งเป้าหมายที่จะลดปริมาณขยะเสียที่จะนำไปสู่บ่อฝังกลบเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง และสร้างเครือข่ายพันธมิตรที่ร่วมมือบริหารจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

1. การจัดการขยะไม่อันตราย

ของเสียและขยะไม่อันตรายบนเครื่องโดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ขยะที่มาจากอาหารบนเครื่องบิน ไม่ว่าจะเป็นอาหารสด อาหารแห้ง ภาชนะบรรจุอาหาร และหีบห่อ ซึ่งเป็นพลาสติก อลูมิเนียม กระดาษ คิดเป็นร้อยละ 30 ของปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่ได้ให้บริการบนเครื่องบิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

อาหารและสินค้าที่ให้บริการและขายต่อปี
> แสน
เที่ยวบินขาออกที่ขายอาหารและสินค้า
> ล้าน
อาหารที่เน่าเสียได้: การสั่งจองล่วงหน้าและการพาณิชย์
> แสน
การบริการอื่นๆ สิ่งอำนวยความสะดวก ชุดช้อนส้อม แก้วน้ำ ถุง และอื่นๆ
> ล้าน
เครื่องดื่ม

ตามข้อกำหนดของ International Catering Waste อาหารที่นำขึ้นสายการบินที่เป็นอาหารสดทั้งหมด ทั้งที่บริโภคแล้ว รวมถึงอาหารที่ยังไม่ได้บริโภคไม่สามารถนำมาหมุนเวียนใช้ ยกเว้นสินค้าที่เป็นอาหารแห้ง ขยะอาหารที่เกิดจากสายการบินนั้นเมื่อตู้อาหารพร้อมขยะกลับมาที่คลังสินค้า ขยะอาหารทั้งหมดจะถูกทำการคัดแยกแต่ละประเภทของขยะ เช่น เศษอาหาร พลาสติก อะลูมิเนียม และส่งต่อให้ส่วนงานกำจัดขยะของฝ่ายบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นต่อไป ซึ่งขยะส่วนที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้จะถูกรีไซเคิลกลับไปเป็นพลาสติกและอลูมิเนียม และส่วนที่เหลือจะถูกเปลี่ยนเป็นอาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงโรงงานอุตสาหกรรม

ผลการดำเนินงานและเป้าหมาย
การจัดการขยะที่ไม่อันตรายจากบริษัทไปสู่บ่อฝังกลบเป็นศูนย์ที่สถานีดอนเมืองภายในปี 2566 บริษัทได้ตั้งเป้าหมายในการทำงานเพื่อให้อัตราการรีไซเคิลขยะร้อยละ 100 ของน้ำหนักขยะไม่อันตรายทั้งหมดและในปี 2566 บริษัท สามารถบรรลุเป้าหมายโดยมีอัตราการรีไซเคิลขยะไม่อันตรายอยู่ที่ร้อยละ 100
บริษัท สามารถบรรลุเป้าหมายโดยมีอัตราการรีไซเคิลขยะไม่อันตรายอยู่ที่ร้อยละ
บริษัทสามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้
ตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า
ซึ่งเทียบเท่าการปลูกต้นโกงกางจำนวนกว่า
ตันต่อปี
เทียบเท่าการใช้รถยนต์เชื้อเพลิงเบนซินขนาดถังน้ำมัน 50 ลิตร จำนวน
คัน (อ้างอิงจากเอกสารขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจก)

2. การจัดการขยะอันตราย

ขยะอันตรายที่เกิดขึ้นจากกระบวนการซ่อมบำรุงอากาศยานของบริษัท อันได้แก่ กระป๋องอะลูมิเนียม กระป๋องน้ำมันหล่อลื่น วัสดุอื่น ๆ เช่น กาว สารผนึก ถุงมือซ่อมบำรุง หลอดไฟ ฯลฯ ซึ่งบริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรการของการท่าอากาศยานในการคัดแยกและจัดการทิ้งตามถังขยะในแต่ละประเภทที่การท่าอากาศยานจัดตั้งและระบุไว้ในเขตพื้นที่การบินของสนามบิน โดยในปี 2566 นั้น ได้มีปริมาณขยะอันตรายที่ผ่านการคัดแยกและจัดการทิ้งตามมาตรการของการท่าอากาศยานเป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,671 กิโลกรัม นอกจากนี้ทางฝ่ายวิศวกรรมได้มีการวิเคราะห์การใช้อุปกรณ์ในแต่ละการซ่อมบำรุงอย่างละเอียดและวางแผนการใช้ผ่านทางโปรแกรม Google Suit เพื่อลดของเสียให้ได้มากที่สุด

ผลการดำเนินงานและเป้าหมาย
ฝ่ายวิศวกรรมได้ทำการวัดประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรการซ่อมบำรุง โดยสามารถลดของเสียที่หมดอายุก่อนการใช้งานได้ 169,600 บาทต่อปี

การบริหารจัดการน้ำ

บจ. ไทยแอร์เอเชีย มุ่งมั่นในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทมีการวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำในแต่ละพื้นที่ รวมถึงการใช้น้ำสำหรับการบินในแต่ละเที่ยวบิน นอกจากนั้นยังได้พยายามนำน้ำกลับมาใช้งานซ้ำในกระบวนการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทรัพยากรน้ำของการปฏิบัติการภาคพื้น

ตั้งแต่ปี 2562 บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้ตั้งเป้าหมายในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อใช้ในงานปฏิบัติการภาคพื้น โดยบริษัท ได้วิเคราะห์และประเมินการใช้ทรัพยากรน้ำ จากข้อมูลที่ผ่านมา และได้จัดสร้างสถานีผลิตน้ำในสนามบิน ภายใต้กรอบแนวคิดความยั่งยืน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและควบคุมมาตรฐานคุณภาพของทรัพยากรน้ำ

ปริมาณการใช้น้ำมันสำหรับเที่ยวบินในประเทศ (ลิตรต่อเที่ยวบิน) เป้าหมาย 60 ลิตรต่อเที่ยวบิน
(ลิตร)

กลยุทธ์การลดการใช้น้ำ

ฝ่ายบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้นของบริษัทมีนโยบายการจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีการคำนวณปริมาณความต้องการน้ำสำหรับแต่ละเที่ยวบินตามระยะเวลาและจุดหมายปลายทาง ส่งผลให้ปริมาณการเติมน้ำสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศลดลง 50% ส่งผลให้น้ำหนักบรรทุกบนเครื่องบินลดลง และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ นโยบายนี้ช่วยให้บริษัทประหยัดเงินได้ 450,000 บาทต่อปีหลังจากคำนวณต้นทุนแล้ว ขณะที่สามารถบรรลุเป้าหมายในการใช้น้ำไม่เกิน 60 ลิตรต่อเที่ยวบิน โดยปริมาณการใช้เฉลี่ยอยู่ที่ 57.5 ลิตรในปี 2566

การจัดการพลังงาน

บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีแผนจัดการพลังงานด้วยการวางแผนติดตั้งโซลาเซลล์ที่อาคาร แอร์เอเชีย อะคาเดมี่ ซึ่งทางบริษัทอยู่ในระหว่างการศึกษาคู่ค้าที่จะมาทำการ ออกแบบระบบ เพื่อติดตั้งรวมทั้งขออนุญาตดำเนินการที่เกี่ยวข้อง จากแผนดังกล่าวคาดว่าจะสามารถลดค่าไฟลงได้ร้อยละ 30 ของค่าไฟต่อเดือน