การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจําเพื่อศึกษาการรับรู้ทัศนคติและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ
ผ่านการสอบถามและรับฟังหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มโดยตรง เพื่อได้รับข้อมูลครบถ้วนในทุกมิติ นํามาพัฒนาและกําหนดทิศทางการดําเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองให้เท่าทันความต้องการและสร้างคุณค่าร่วมกันในระยะยาว
ผู้มีส่วนได้เสีย
บจ. ไทยแอร์เอเชีย แบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเป็น 9 กลุ่มหลัก ได้แก่ คณะกรรมการบริษัท หน่วยงานภาครัฐ ลูกค้า (ผู้โดยสาร) ชุุมชน สื่อมวลชน พนักงาน (Allstars) นักลงทุุน สถาบันทางการเงิน และพันธมิตรทางธุรกิจ
ลูกค้า
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- มีการแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงทีจากโปรแกรม AskBo หรือหน้าเพจบริการช่วยเหลือในหน้าเว็บไซต์ของแอร์เอเชีย
- บริการช่วยเหลืออย่างครบวงจร
- การให้บริการภาคพื้นแบบยอดเยี่ยม โดยเน้นการให้บริการและการให้ความช่วยเหลืออย่างมีมาตรฐาน และสะดวกรวดเร็ว
- ผู้โดยสารต้องได้รับความพึงพอใจภายในห้องโดยสาร และความสะดวกสบายจากการบริการของพนักงานต้อนรับ
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การจัดตั้งทีมสนับสนุนและช่วยเหลือลูกค้าเพื่อตอบสนองและรับฟังความต้องการของผู้โดยสารโดยตรงและทันท่วงที
- แก้ไขและพัฒนาจากข้อร้องเรียนของลูกค้าเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ
- พัฒนาระบบการเช็คอินและนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารในการขึ้นเครื่อง
- มีการตรวจสอบและรายงานผลเกี่ยวกับความสะอาดและความสะดวกสบายภายในห้องโดยสาร เพื่อรักษาคุณภาพและภาพลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานการบริการทั้งก่อน ขณะ และหลังการบริการ
- พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินมีความรู้และตระหนักถึงการบริการที่ดีที่สร้างความประทับใจให้แก่ผู้โดยสาร โดยเรียนรู้จากคำติชมของผู้โดยสาร
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การเดินทางไปถึงจุดหมายอย่างปลอดภัยและตรงต่อเวลา
- สินค้าและบริการที่ตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิต
- สร้างคุณค่าร่วมตลอดห่วงโซ่คุณค่า
- การบริการที่สะดวก รวดเร็ว และประทับใจ
- ได้รับความปลอดภัย ความสะดวก และประทับในในการบริการ
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- การร้องเรียนผ่านช่องทางรับเรื่องต่าง ๆ เช่น ผ่านพนักงานทาง Live Chat หรือ Chatbot บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของแอร์เอเชีย หรือผ่านทาง mobile application Super App รวมทั้งช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งช่องทางติดต่อทั้งหมดมีบริการตลอด 24 ชั่วโมง
- การจัดทำรายงานความพึงพอใจของสถานีทุกเดือนเพื่อให้ทราบถึงความพึงพอใจและข้อพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้ทุกสถานีทราบถึงความต้องการขอผู้โดยสารและนำมาพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- คะแนนความพึงพอใจของผู้โดยสาร
- Ask BO Chatbot
- การจ้างบริษัทภายนอกมาสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
- การสำรวจความคิดเห็นผู้โดยสารหลังการให้บริการผ่านทางอีเมล
พนักงาน (Allstars)
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน
- สวัสดิการและค่าตอบแทน
- สภาพแวดล้อมการทำงานที่โปร่งใสและเป็นธรรม
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การดูแลอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
- การดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต
- การดูแลค่าตอบแทนและสวัสดิการอย่างเป็นธรรมให้กับพนักงาน
- ทบทวนและจัดทำการสำรวจค่าจ้าง สวัสดิการ
- เปิดช่องทางการสื่อสารให้กับพนักงาน สามารถเสนอข้อคิดเห็นและข้อเรียกร้องโดยตรงต่อผู้บริหาร เช่น ตู้ ปณ. สันติสุข, AskPAC, Chatbot, และอีเมล
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- ความปลอดภัยในการทำงาน
- การดูแลด้านอารมณ์เพื่อสุขภาพจิตที่ดี
- ค่าตอบแทนที่เหมาะสมและสวัสดิการที่ครอบคลุมแก่พนักงาน
- สภาพแวดล้อมการทำงานที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเป็นธรรมต่อพนักงานทุกฝ่าย
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- การสื่อสารข่าวสารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทางอีเมลและ โปรแกรม Workplace ซึ่งใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารผ่านทางระบบแชท ประชาสัมพันธ์ข่าวสารภายในบริษัทผ่านการโพสต์ และจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมออนไลน์ผ่าน Live Streaming
- การประชุมตัวแทนหน่วยงานเพื่อแจ้งข่าวสารหรือหารือแก้ไขปัญหาจากการดำเนินงาน ทุกไตรมาส
- โครงการ Peer Support และแอปพลิเคชั่นสำหรับช่วยเหลือพนักงาน Naluri
- การประชุม Coffee Talk ระหว่าง CEO กับผู้บริหารระดับสูงของทุกแผนก ทุกสัปดาห์
นักลงทุน
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- การเปิดเผยข้อมูลธุรกิจอย่างโปร่งใส ต่อเนื่อง และทั่วถึง รวมถึงการให้ข้อมูลด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- การรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นที่พึงได้รับตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- ความเชื่อมั่นต่อองค์กรและการลงทุนในหุ้นสามัญและหุ้นกู้ของบริษัท
- การส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับผู้ถือหุ้นและนักลงทุน
- ผลตอบแทนจากการดำเนินงานที่ดี
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- มีกระบวนการตรวจสอบภายในที่รัดกุม และเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการอย่างโปร่งใส
- มีกระบวนการการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ และเปิดเผยความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญต่อการประกอบธุรกิจอย่างครบถ้วนและรัดกุม
- สื่อสารประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ รวมถึงผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อบริษัทอย่างสม่ำเสมอ
- บริษัทดำเนินกิจการโดยปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด รวมทั้งหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับตลาดทุน สำนักงาน ก.ล.ต. และ/หรือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เกี่ยวข้อง
- จัดประชุมแถลงผลประกอบการทุกไตรมาสภายใน 1 วันทำการ หลังจากส่งงบการเงินแก่ตลาดหลักทรัพย์ฯ
- เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนสามารถเข้าเยี่ยมชมกิจการ เสนอข้อคิดเห็น และข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการบริหารจัดการต่อบริษัท รวมถึงถกประเด็นคำถามผ่านช่องทางต่าง ๆ
- ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์มีแผนการทำงานที่มุ่งรักษาและยกระดับความสัมพันธ์กับผู้ถือหุ้นและนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำผู้บริหารระดับสูงไปพบกับนักลงทุนสถาบันทุกไตรมาสหลังแถลงผลประกอบการ
- การรักษาสัมพันธ์กับบริษัทหลักทรัพย์ฯ เพื่อสนับสนุนการออกบทวิเคราะห์และเพื่อเข้าถึงนักลงทุนรายย่อย การจัดงานพบปะนักลงทุนประจำปี เป็นต้น
- ผู้บริหารปรับกลยุทธ์สำหรับการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและผลการดำเนินงานที่ดีของบริษัท
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนและทันท่วงที ตามมาตรฐานของประเทศไทยและสากล
- ผู้ถือหุ้นได้รับสิทธิที่พึงได้รับครบถ้วน
- ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนมีความเข้าใจผลประกอบการของบริษัท สภาพการแข่งขัน และกลยุทธ์การดำเนินงาน เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน
- ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนทุกกลุ่มมีโอกาสพบปะและสอบถามข้อมูลกับผู้บริหารทั้งแบบเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
- ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนสามารถประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทจากกลยุทธ์การดำเนินงานที่บริษัทเปิดเผย เพื่อตัดสินใจลงทุนตามผลตอบแทนที่คาดหวังได้
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- การจัดทำรายงานประจำปีต่อเนื่องทุกปี และเผยแพร่ผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ และเว็บไซต์ของบริษัท
- ผู้ถือหุ้นได้รับแจ้งสิทธิผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์ฯ และสามารถติดต่อฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ผ่านอีเมล taa_investorrelations@airasia.com หรือโทร 0-2562-5745-6 และส่วนงานเลขานุการบริษัทผ่านอีเมล aav_companysecretary@airasia.com หรือโทร 0-2562-5700 เพื่อให้ตรวจสอบสิทธิได้ทุกวันทำการ
- การจัดประชุมแถลงผลประกอบการทุกไตรมาสโดยผู้บริหาร ผสมผสานระหว่างระบบออนไลน์และออฟไลน์
- ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนสามารถติดต่อฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ผ่านอีเมล taa_investorrelations@airasia.com หรือโทร 0-2562-5745-6 เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัทได้ทุกวันทำการ
- ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์พิจารณารับนัดประชุมจากผู้ถือหุ้นและนักลงทุนกับผู้บริหารตามความเหมาะสม โดยในปีที่ผ่านมามีอัตราการรับนัดประชุมร้อยละ 100
- ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์จัดงานพบปะนักลงทุนประจำปี ปีละ 1 ครั้ง โดยจัดที่สถานที่ของบริษัท
- ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์มีแผนเยี่ยมห้องค้าบริษัทหลักทรัพย์ฯ ไตรมาสละ 1 ครั้ง เพื่อให้ข้อมูลโดยตรงและรักษาความสัมพันธ์กับนักลงทุนรายย่อย
- ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์ของฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ เช่น รายงานประจำปี งบการเงิน เอกสารนำเสนอแต่ละไตรมาส วิดีโอการแถลงผลประกอบการ และวิดีโอกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งนักลงทุนสามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา
สถาบันทางการเงิน
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- การกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณธุรกิจที่ดี และการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
- การจัดการความเสี่ยงองค์กร
- การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าและการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัท
- นโยบายทางการเงินที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและกลยุทธ์ของบริษัท
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากล
- การดำรงไว้ซึ่งมาตรฐานการปฏิบัติงานทางการเงินและบัญชีที่เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานสากล
- การรับฟังข้อเสนอและข้อคิดเห็นต่อกระบวนการดำเนินธุรกิจ
- ผู้บริหารปรับกลยุทธ์สำหรับการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันและผลการดำเนินงานที่ดีของบริษัท
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การดำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมายภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- มีความสามารถในการชำระภาระข้อผูกพันทางการเงิน
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- จัดส่งข้อมูลและรายงานการทำธุรกรรมต่าง ๆ ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องตามข้อกำหนดระยะเวลา เช่น รายเดือน รายไตรมาส รายปี
- ติดต่อประสานงานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดปี
- สัมมนาและประชุมเชิงวิชาการเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจตลาดเงินและตลาดทุน ทุกไตรมาส
- พบปะและประชุม เกี่ยวกับผลประกอบการและโครงการของบริษัททุกไตรมาส
หน่วยงานภาครัฐ
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื้อกำหนดนโยบายทิศทาง และแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน
- การดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยว ให้สอดคล้องกับนโยบายของ ภาครัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- การสนับสนุนและส่งเสริม การท่องเที่ยว และพัฒนาอุตสาหกรรม การบินอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในประเด็นต่าง ๆ เพื่อกำหนดเป้าหมายและแผนการดำเนินการร่วมกัน
- วางแผนและจัดทำโครงการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อขับเคลื่อน นโยบาย รวมถึงการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยว ข้องอย่างเคร่งครัด
- ร่วมหารือและ จัดทำโครงการกับหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนและ ส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- สำรวจความพร้อมของเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืนและคาร์บอนเครดิตที่ได้มาตรฐานของ CORISA เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- ได้แนวนโยบายและทิศทาง รวมถึงการปฏิบัติร่วมกัน
- เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
- หน่วยงานภาครัฐและบริษัทสามารถบรรลุเป้าหมายร่วมกัน
- สามารถสร้าง รายได้ให้กับอุตสาหกรรม ท่องเที่ยว รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน
- บรรลุผลตามมาตรฐานและข้อกำหนดองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- ติดตามการทำงานร่วมกับคณะทำงานเป็นประจำผ่าน การประชุมหารือ และนำข้อสรุปไปดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
- ติดตามและดำเนินการตามนโยบายของภาครัฐอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการแก้ไข กฎระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ผ่านเว็บไซต์ทางการของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลของบริษัท อย่างเป็นประจำ
- ทำงานสอดรับกับนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศเพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นประจำทุกปี
- การประชุมทุก ๆ 2 เดือนกับสายการบินอื่น ๆ ในสมาคมสายการบินไทยเพื่อสนับสนุนนโยบายการบินแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบ
- การมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอกับหน่วยงานกำกับดูแล และผู้มีส่วนได้เสียที่สามารถช่วยให้บริษัทบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์
สื่อมวลชน
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- ความโปร่งใสในการดำเนินงาน และให้ข้อมูลบริษัท อย่างถูกต้องและรอบด้าน
- การตอบสนองต่อประเด็นข่าวที่รวดเร็ว
- วิสัยทัศน์ของบริษัท และมุมมองภาพรวมต่ออุตสาหกรรมในฐานะผู้นำสายการบินราคาประหยัด รวมไปถึงนโยบายในแต่ละประเด็น
- ทีมสื่อสารองค์กรที่ติดต่อได้สะดวก พร้อมให้บริการ และตอบสนองอย่างรวดเร็ว
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนก่อนนำเสนอข่าวของบริษัทต่อสื่อมวลชน โดยคำนึงถึงองค์ประกอบและคุณค่าของเนื้อหา
- การสร้างวัฒนธรรมของฝ่ายสื่อสารองค์กรให้มีความพร้อมในการบริหารการสื่อสาร สามารถติดต่อได้ตลอดเวลาและนำเสนอข่าวที่ถูกต้อง รวดเร็ว โดยเฉพาะในภาวะวิกฤต
- การสร้างกลุ่มในแอปพลิเคชั่น อาทิ กลุ่มไลน์ ระหว่างฝ่ายสื่อสารองค์กรกับสื่อมวลชนกลุ่มต่างๆ เพื่อการนำเสนอ ข่าวสารอย่างทันท่วงที
- การแสดงวิสัยทัศน์ต่อสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทอย่างน้อยทุกไตรมาส
- จัดสรรทีมงานในฝ่ายสื่อสารองค์กร ที่ดูเเลสื่อมวลชนเเต่ละกลุ่มเป้าหมาย ที่เเตกต่างกัน
- สร้างวัฒนธรรมทีมงานต่อการตอบสนองสื่อมวลชนเชิงรุกเเละรวดเร็ว
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- สื่อมวลชนได้รับข่าวสารของบริษัทที่เป็นทางการ เชื่อถือได้ เพื่อการนำเสนอข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
- สื่อมวลชนได้ข้อมูลที่รวดเร็ว จากแหล่งข่าวหรือเจ้าของข่าว เพื่อนำเสนอได้ทันต่อกระเเส
- สื่อมวลชนได้อัพเดตข้อมูลบริษัทต่อเนื่อง ทำให้เข้าใจภาพรวมของบริษัท พร้อมนำเสนอข่าวสารที่มีพัฒนาการ
- สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างฝ่ายสื่อสารองค์กรเเละสื่อมวลชน เพื่อการทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น
- มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ตอบสนองได้อย่างทันท่วงที เเละข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- ช่องทางการมีส่วนร่วมหลักผ่าน การนำเสนอข่าวอีเมล กลุ่มไลน์ และการติดต่อทางโทรศัพท์กับฝ่ายสื่อสารองค์กรโดยตรง
- การนำเสนอข่าวบริษัทในหลากหลายประเด็นต่อเนื่อง เฉลี่ย 2 ข่าวต่อสัปดาห์
- การเเถลงข่าวภาพรวมธุรกิจอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี หรือการเเถลงข่าวตามวาระ 2-3 ครั้งต่อปี เพื่อให้ผู้บริหารเเละสื่อมวลชนได้เเลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
- ช่องทางติดต่อที่รวดเร็วที่สุด ผ่านโทรศัพท์กับฝ่ายสื่อสารองค์กรโดยตรง รวมทั้งกลุ่มไลน์ที่บริษัทตั้งขึ้นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
- การเเถลงข่าวในโอกาสต่างๆ อาทิ ภาพรวมธุรกิจอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี หรือการเเถลงข่าวตามวาระ 2-3 ครั้งต่อปี
- การสัมภาษณ์ผู้บริหารผ่านทางโทรศัพท์ หรือการให้ข้อมูลต่อประเด็นคำถามต่างๆ ผ่านทางฝ่ายสื่อสารองค์กร ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่เป็นทางการ และได้รับอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูงในการเผยเเพร่
- ช่องทางการสื่อสารหลักผ่านทางไลน์
- กรณีสถานการณ์ฉุกเฉินหรือภาวะวิกฤต ติดต่อผ่านโทรศัพท์มือถือ และตอบสนองได้ทันที
พันธมิตรทางธุรกิจ
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ
- การใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าและการจัดการ
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์
- ความร่วมมือในการทำงานและการส่งเสริมด้านคุณภาพของสินค้าและการบริการอย่างสม่ำเสมอ
- มีความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินคู่ค้า
- ได้รับสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานและตามกฏหมายที่กำหนด
- การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
- วางแผนเพื่อทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคต
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- ขยายระยะเวลา credit term ให้กับคู่ค้า
- การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- การให้ความร่วมมือเพื่อทำงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของทางภาครัฐฯและเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของ อาหารทั้งภายในและต่างประเทศ
- การเข้าร่วมโครงการยกระดับด้านความปลอดภัยร่วมกับคู่ค้าที่เป็นหน่วยซ่อมบำรุง
- การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานและตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- การพบปะ การประชุม การสัมนาเชิงปฏิบัติการ การติดต่อผ่านตัวแทนของบริษัท และการเยี่ยมชมดูงาน
- การประชุมกับบริษัทผู้ผลิตอากาศยานและชิ้นส่วนต่างๆเพื่อรับข้อมูลการพัฒนาของผลิตภัณฑ์และการบริการ
- ตัวแทนจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินเยี่ยมชมการปฏิบัติงานบริษัท
- การประชุมหารือกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินและเครื่องยนต์
- การรายงานผลประสิทธิภาพกับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ประจำไตรมาส และประจำปี
- การรายงานผลการดำเนินงา การรวมประชุม ด้านคุณภาพ ความปลอดภัยอาหารและประสิทธิภาพในการทำงาน รวมถึงการประเมินคู่ค้าประจำปี
ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- การสนับสนุนและส่งเสริมธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในชุมชน
- การสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวและห่วงโซ่คุณค่าอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การมีส่วนร่วมในท้องถิ่นที่บริษัทให้บริการผ่านกิจกรรมส่งเสริมชุมชน
- มูลนิธิแอร์เอเชียได้มอบเงินช่วยเหลือแก่กิจการเพื่อสังคมในอาเซียน เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้ในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ
- การจัดอบรมเสริมสร้างทักษะความรู้การดำเนินธุรกิจให้ชุมชน
- การดำเนินธุรกิจตามนโยบายของบริษัทเพื่อลดผลกระทบเชิงลบ ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม
- จัดกิจกรรม Open House หรือการดูงานที่แอร์เอเชีย อะคาเดมีเพื่อให้ความรู้ด้านความยั่งยืนผ่านตัวอย่างของ การบริหารจัดการของสายการบิน
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- ทักษะและความรู้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อต่อยอดการเป็นชุมชนท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- การลดผลกระทบเชิงลบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
- การสร้างความรับรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกในการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และสร้างคุณค่าร่วมกันตลอดห่วงโช่คุณค่า
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- จัดกิจกรรม Journey D ปีละ 2 ครั้งที่ชุมชนในจังหวัดที่บริษัทให้บริการ
- ทุนจากมูลนิธิแอร์เอเชีย ซึ่งสามารถสมัครขอรับได้ตลอดทั้งปี โดยในปี 2566 มูลนิธิแอร์เอเชียได้มอบเงินทุนจำนวน 680,000 บาท ให้กับผู้นำสตรีกิจการเพื่อสังคมในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในโครงการ Fisherfolk
- จัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาทักษะร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ปีละ 1 ครั้ง
- สัมมนาสาธารณะ ปีละอย่างน้อย 2 ครั้ง
- การรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียผ่านการสัมภาษณ์กลุ่ม