EN / TH

กระบวนการการบริหารทรัพยากรบุคคล

เป้าหมายในการบริหารทรัพยากรบุคคล

บริษัทฯ มีนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล รวมทั้งแผนการพัฒนาความผูกพันและรักษาพนักงานดังต่อไปนี้

การปรับปรุงประสิทธิผลและประสิทธิภาพขององค์กร
การวางแผนกลุ่มผู้สืบทอดที่ดี (ขนาดและความพร้อม) และกลุ่มศักยภาพที่มีความสามารถที่เหมาะสม
การสร้างและการรักษาพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูง และมีประสิทธิผล
การเสริมสร้างความผูกพัน ความเป็นผู้นำและ วัฒนธรรม
โครงสร้างพนักงานปี 2567
จำนวนพนักงานทั้งหมด ในปี 2567
คน
ค่าตอบแทนของพนักงานทั้งหมด
ล้านบาท
เงินเดือนเฉลี่ย
บาท (ต่อคน)
อัตราส่วนค่าตอบแทน (ชาย: หญิง)
1 : 0.51
จำนวนพนักงานตามอายุ เพศ และตำแหน่ง ปี 2567

(คน)

อายุ ผู้ปฏิบัติการ ผู้บริหาร ผู้บริหารระดับสูง ทั้งหมด
หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย หญิง ชาย
น้อยกว่า 30 486 472 2 3 - - 488 475
31 - 50 1,381 2,035 123 418 2 6 1,506 2,459
มากกว่า 51 4 63 10 204 2 5 16 272
ทั้งหมด 1,871 2,570 135 625 4 11 2,010 3,206
จำนวนพนักงานตามภูมิลำเนาและสถานที่ตั้งปี 2567
ไทย
จีน
เวียดนาม
อินเดีย
เมียนมาร์
กัมพูชา
ญี่ปุ่น
เกาหลีใต้
มาเก๊า
สปป.ลาว
เนปาล
มาเลเซีย
บราซิล
รวม
5,216

วัฒนธรรมของเรา

ตอบโจทย์ลูกค้า
พื้นที่แห่งการเติมโต
ก้าวสู่เส้นชัยด้วยกันเป็นทีม
สุขภาวะที่ดีในที่ทำงาน
เชื่อมโยงชุมชน
เคารพกันและกัน

คุณค่าของเรา

  • 01
    All for one, One for all
    ทำงานเป็นทีม สร้างความสำเร็จไปด้วยกัน
  • 02
    Dare to dream
    ทุกฝันเป็นจริงได้
  • 03
    We make a difference
    สร้างสรรค์ให้แตกต่าง
  • 04
    Keep it simple
    ทำทุกอย่างให้เรียบง่าย
  • 05
    Be transparent
    ยึดมั่นความโปร่งใส
  • 06
    Have empathy and respect
    เข้าใจและเคารพผู้อื่น
  • 07
    Celebrate all individuals
    เชื่อมั่นและภูมิใจในตัวเอง
  • 08
    Safety is #1
    ความปลอดภัยเป็นที่หนึ่ง

สิทธิมนุษยชน

บริษัทมีความมุ่งมั่นที่ปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรผ่านกระบวนการต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การสรรหาจ้างงานพนักงานที่เป็นธรรม การไม่ใช้แรงงานบังคับ การไม่ค้ามนุษย์ กําหนดควบคุมมิให้มีการจ้างแรงงานอายุต่ำกว่า 18 ปีผ่านทางระบบบริหารทรัพยากร

การฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพพนักงาน การประเมินผลปฏิบัติงาน การกําหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรม การเลื่อนตําแหน่ง การจัดสวัสดิการ ซึ่งระบุอยู่ในจริยธรรมองค์กรที่ได้รับการอนุมัติและประกาศใช้แล้ว บริษัทมีคณะกรรมการที่ทําหน้าที่สํารวจ ตรวจสอบ และเสนอข้อปรับปรุงหากมีความเสี่ยงในด้านสิทธิมนุษยชน และมีแผนที่จะเริ่มตั้งนโยบายและเป้าหมายประเมินความเสี่ยงด้านมนุษยชนสําหรับพนักงาน ลูกจ้างและแรงงานเป็นลำดับถัดไป

การประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ อาทิเช่น ความเสียหายต่อชื่อเสียง การถูกฟ้องร้อง เป็นต้น การประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านของบริษัทประกอบไปด้วย กระบวนการระบุ ประเมิน และจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินงาน ซึ่งครอบคลุมถึงผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ พนักงาน ห่วงโซ่อุปทาน ลูกค้า และชุมชน ช่วยป้องกันหรือแก้ไขความเสี่ยงเหล่านี้ ในปีที่ผ่านมา บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้ริเริ่มโครงการประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยในไตรมาสที่ 2 ได้เริ่มประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชนเป็นครั้งแรกในบริษัท รวมถึงจัดตั้งกลไกในการร้องเรียน และเริ่มประเมินความเสี่ยงด้านมนุษยชน

การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ในไตรมาสที่ 4 ปี 2567 บริษัทริเริ่มในการทำการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และอยู่ระหว่างการดำเนินงานจัดเวิร์คช็อปร่วมกับหน่วยงานภายในและกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มพนักงาน กลุ่มห่วงโซ่อุปทาน กลุ่มลูกค้า และกลุ่มชุมชนท้องถิ่น ระบุและประเมินประเด็นความเสี่ยง รวมถึงผลกระทบร่วมกัน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2568 โดยมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงดังต่อไปนี้

ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนบ่งชี้ว่า ไม่พบความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในระดับที่สูงมาก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนบางประการที่ควรได้รับการพิจารณาและให้ความสนใจเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่:

สามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับระเบียบวิธีและผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนโดยละเอียดได้จากลิงก์นี้

การยอมรับความหลากหลายและความแตกต่างและการให้โอกาสอย่างเท่าเทียมกัน

บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีนโยบายส่งเสริมการอยู่ร่วมกันโดยสนับสนุนความเท่าเทียมระหว่างเพศและความหลากหลาย โดยบริษัทได้คำนึงถึงพนักงานทุกคนว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดและเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จของบริษัท บริษัทจึงได้มุ่งพัฒนาเสริมสร้างวัฒนธรรมที่ดี รวมทั้งการปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความสุภาพและให้ความเคารพต่อความเป็นปัจเจกชน การว่าจ้าง การแต่งตั้งและโยกย้ายพนักงาน จะพิจารณาบนพื้นฐานของคุณธรรมเป็นสำคัญ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า พนักงานทุกคนมีความเท่าเทียมกัน โดยไม่แบ่งแยกเพศ อายุ เชื้อชาติ ภูมิลำเนา รสนิยมทางเพศ และความพิการ

นอกจากนี้ บริษัทได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คนพิการ รวมถึงให้การสนับสนุน ให้โอกาสการจ้างงานแก่คนพิการทั่วประเทศจำนวน 47 คน และได้รับรางวัลองค์กรส่งเสริมการจ้างงานคนพิการประจำปี 2567 จากมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล

จำนวนพนักงานเพศหญิงร้อยละ
ของจำนวนพนักงานทั้งหมด
จำนวนพนักงานระดับผู้บริหารเพศหญิงร้อยละ
ของพนักงานระดับผู้บริหาร
ผลการดำเนินงานปี 2567
บจ. ไทยแอร์เอเชียได้ให้ความสำคัญของความ หลากหลายและความเท่าเทียมของพนักงาน ในปี 2567
จำนวนการจ้างงานผู้พิการ (คน)

พนักงานที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป

สำหรับพนักงานที่อายุครบ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับการพิจารณาจ้างงาน ต่อเมื่อมีคุณสมบัติและทักษะเฉพาะทางที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจเช่น วิศวกรอากาศยาน ครูฝึกการบิน โดยการจ้างงานผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีดังต่อไปนี้

พนักงานที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป

ผลประเมินความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร

ในปี 2567 คะแนนของการประเมินความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด คือ 35.6 จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 50 อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายทรัพยากรบุคคลและวัฒนธรรมองค์กรได้วางแนวทางเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างต่อเนื่อง

อัตราการลาออก ของพนักงานโดยสมัครใจ (เป้าหมาย: ร้อยละ <5)
ร้อยละ

อัตราการลาออกของพนักงาน

บริษัทมีเป้าหมายในการพัฒนาความผูกพันและการรักษาพนักงานโดยมีอัตราหมุนเวียนของพนักงานไม่เกินร้อยละ 5 ในแต่ละปี และการไม่สูญเสียพนักงานในตำแหน่งงานที่สำคัญเพื่อป้องกันการส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท ในปี 2567 อัตราพนักงานลาออกโดยสมัครใจ เท่ากับร้อยละ 6.1 จากจำนวนพนักงานทั้งหมด ทั้งนี้อัตราการลาออกโดยสมัครใจลดลงร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งไม่มีผลต่อการปฏิบัติงาน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อัตราการลาออกลดลงเล็กน้อย ผลการประเมินชี้ว่าพนักงานเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจน และตระหนักถึงความเชื่อมโยงของงานที่ทำกับเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์กร นอกจากนี้ พนักงานยังรู้สึกภาคภูมิใจในองค์กรมากขึ้น

การพัฒนาบุคลากร

บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้เตรียมพร้อมการฝึกอบรมพนักงานโดยได้พัฒนาและสร้างระบบ Training Management System ซึ่งเป็นระบบฝึกอบรมของพนักงานภายในบริษัท ซึ่งระบบบริหารงานฝึกอบรมที่สนับสนุนให้การจัดฝึกอบรม ทักษะการทำงาน และการฝึกอบรมภาคบังคับ ตามกฎหมายกำหนดให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น ทั้งเรื่องของการจัดการชั้นเรียน การบันทึกผลการเรียน ผลการสอบ อีกทั้งระบบยังสามารถแจ้งเตือนผู้เรียนเมื่อถึงรอบของการเรียนทบทวนได้ เพื่อให้สามารถรักษาสถานภาพการทำงานได้ โดยพนักงานทุกคนในองค์กรจะได้รับการฝึกอบรมขั้นพื้นฐานของการปฏิบัติงานอย่างครบถ้วนตามข้อกำหนดของแต่ละฝ่าย และได้ตั้งเป้าหมายการฝึกอบรมตามกลุ่มทักษะดังนี้

ปี 2567 จำนวนพนักงานทั้งสิ้น ที่ได้รับการฝึกอบรม
คน
ประเภททักษะ เป้าหมายชั่วโมงการฝึกอบรมพนักงานต่อคนต่อปี ผลการดำเนินงาน ปี 2567
ทักษะเฉพาะทาง ประมาณ 24 ชั่วโมงต่อคนต่อปี ประมาณ 24 ชั่วโมงต่อคนต่อปี
ทักษะทั่วไป ประมาณ 5 ชั่วโมงต่อคนต่อปี ประมาณ 11.6 ชั่วโมงต่อคนต่อปี