การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
บจ. ไทยแอร์เอเชีย ได้มีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นประจําเพื่อศึกษาการรับรู้ทัศนคติและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ
ผ่านการสอบถามและรับฟังหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มโดยตรง เพื่อได้รับข้อมูลครบถ้วนในทุกมิติ นํามาพัฒนาและกําหนดทิศทางการดําเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองให้เท่าทันความต้องการและสร้างคุณค่าร่วมกันในระยะยาว
บจ. ไทยแอร์เอเชีย แบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเป็น 9 กลุ่มหลัก ได้แก่ คณะกรรมการบริษัท หน่วยงานภาครัฐ ลูกค้า (ผู้โดยสาร) ชุุมชน สื่อมวลชน พนักงาน (Allstars) นักลงทุุน สถาบันทางการเงิน และพันธมิตรทางธุรกิจ
-
หน่วยงานภาครัฐ
-
ผู้มีส่วนได้เสีย 1. หน่วยงานภาครัฐ
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- ความสัมพันธ์อันดีกับองค์กร
- มาตรการความปลอดภัยของประชาชนในการเดินทาง
- การทำงานในเป้าหมายและทิศทางเดียวกัน
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- การกำกับดูแลกิจการและการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
- ความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน
- การปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อกำหนดต่างๆ ของภาครัฐ
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การให้ความร่วมมือ ทำงานร่วมกัน และดำเนินการตามนโยบายและข้อกำหนดของภาครัฐ เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด กฎระเบียบและฎหมายของภาครัฐอย่างถูกต้อง เช่น เรื่องข้อกำหนดอัตราราคาบัตรโดยสาร และเรื่องมาตรการความปลอดภัยของการให้บริการของสายการบิน
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- ร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรผู้กำกับดูแล ตามความเหมาะสม
- การรายงานผลให้กับหน่วยงานราชการ ทุกเดือน
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการของหน่วยงานของราชการ เป็นประจำ
- การทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในเวทีของคณะทำงานเครือข่ายพัฒนาการบินประเทศไทย
- ทำงานสอดรับกับนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นประจำ
- ร่วมกิจกรรมกับองค์การและหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของแต่ละท้องถิ่นนั้น
- ดำเนินการและปฏิบัติตามนโยบายของภาครัฐในเรื่องมาตรการความปลอดภัยเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทุกเดือน
- ผลักดันหน่วยงานภาครัฐให้มีมาตรการช่วยเหลือสายการบินโดยเฉพาะการลดต้นทุนที่สำคัญอันเกิดจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ธุรกิจสามารถให้ดำเนินการได้ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
-
ลูกค้า (ผู้โดยสาร)
-
ผู้มีส่วนได้เสีย 2. ลูกค้า (ผู้โดยสาร)
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การเดินทางไปถึงจุดหมายอย่างปลอดภัย และตรงต่อเวลา
- สินค้าและบริการที่ตอบสนองรูปแบบการใช้ชีวิต
- สร้างคุณค่าร่วมตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- ความปลอดภัยในการเดินทาง
- ความตรงต่อเวลาของเที่ยวบิน
- ประสบการณ์ในการเดินทางตลอดเส้นทางที่ราบรื่น และสะดวกสบายสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ปรับเปลี่ยนไป
- สินค้าและบริการที่ได้รับการพัฒนาตามความต้องการที่เปลี่ยนไป
- ได้รับสินค้าที่มีคุณภาพถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดและมีความปลอดภัย
- ได้รับสินค้าที่แปลกใหม่น่าสนใจและมีรสชาติที่ดี
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การจัดตั้งกลุ่มการทำงานเพื่อตอบสนองและรับฟังความต้องการของผู้โดยสารโดยตรง
- แก้ไขข้อร้องเรียนจากลูกค้าเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำและสูญเสียลูกค้าทั้งสองฝ่าย
- การนำผลสำรวจความพึงพอใจและนำมาพัฒนาการบริการอย่างต่อเนื่อง
- เชื่อมต่อและยกระดับสินค้าและบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและคุณค่าเพิ่มร่วมกันทั้ง บจ. และผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่า
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- รับฟังความคิดเห็นของผู้โดยสาร โดยผ่านการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction Survey) สำรวจความพึงพอใจของลูกค้าทุกไตรมาส
- การร้องเรียนผ่านช่องทางรับเรื่องต่างๆ เช่น ผ่านพนักงานทาง Live Chat หรือ Chatbot บนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของแอร์เอเชีย หรือผ่านทาง mobile application Super App รวมทั้งช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ ตลอดเวลา
- การพบปะลูกค้าผ่าน AirAsia Sales Offices, AirAsia Travel & Service Centres ตามเวลาทำการทุกวัน
-
ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
-
ผู้มีส่วนได้เสีย 3. ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
- การปฏิบัติตามข้อกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
- การสร้างความรับรู้เพื่อสร้างจิตสำนึกในการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
- การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่สร้างคุณค่าร่วมกันตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- ผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่อาจจะเกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัท
- การดำเนินงานที่โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
- การให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ
- การสร้างกิจกรรมเพื่อรณรงค์และสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การดำเนินธุรกิจตามนโยบายของบริษัทเพื่อลดผลกระทบด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม
- การสื่อสารอย่างโปร่งใสและการรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย
- การจัดการสัมมนาสาธารณะเพื่อให้ความรู้ด้านความยั่งยืนเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ต้องร่วมมือกัน เช่น Sustain Me Talk ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- จัดกิจกรรม Open House หรือการดูงานที่แอร์เอเชีย อะคาเดมีเพื่อให้ความรู้ด้านความยั่งยืนผ่านตัวอย่างของ การบริหารจัดการของสายการบิน
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอในการให้บริการของสายการบิน
- สัมมนาสาธารณะ ปีละอย่างน้อย 1 ครั้ง
- กิจกรรมดูงาน และ Open House อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
-
พนักงาน
-
ผู้มีส่วนได้เสีย 4. พนักงาน
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- พนักงานได้รับการอบรมที่เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่การทำงาน
- สถิติการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานลดลง
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงาน
- สวัสดิการและค่าตอบแทน
- สภาพแวดล้อมการทำงานที่โปร่งใสและเป็นธรรม
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- เปิดช่องทางการสื่อสารให้กับพนักงาน สามารถเสนอข้อคิดเห็นและข้อเรียกร้องโดยตรงต่อผู้บริหาร เช่น ตู้ ปณ. สันติสุข Askpac chatbot อีเมล
- การดูแลอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
- การดูแลค่าตอบแทนและสวัสดิการอย่างเป็นธรรมให้กับพนักงาน
- การพัฒนาศักยภาพและทักษะของพนักงานอย่างต่อเนื่อง
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- การสื่อสารข่าวสารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในอย่างสม่ำเสมอทางอีเมล นอกจากนี้ยังได้นำเทคโนโลยีจากระบบ Google Workspace ผ่านทางระบบแชททุกวัน วิดีโอคอลล์ทุกสัปดาห์และ Live Streaming ผ่านระบบ Google Meet ทุกๆ สามเดือน และจัดเก็บรวบรวมเนื้อหาต่างๆ ใน Google Page
- การประเมินศักยภาพของพนักงานภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ ทุกไตรมาส
- การประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้บริหาร ทุกสัปดาห์
- การประชุมตัวแทนหน่วยงานเพื่อแจ้งข่าวสารหรือหารือแก้ไขปัญหาจากการดำเนินงาน (Operation Meeting) ทุกไตรมาส
- การประชุม Coffee Talk ระหว่าง CEO กับผู้บริหารระดับสูงของทุกแผนก ทุกสัปดาห์
-
นักลงทุน
-
ผู้มีส่วนได้เสีย 5. นักลงทุน
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง เท่าเทียม และทันเวลา
- การรักษาสิทธิของผู้ถือหุ้นที่พึงได้รับตามกฎระเบียบ
- ความเชื่อมั่นต่อองค์กรและการลงทุนในหุ้นสามัญและหุ้นกู้ของบริษัท
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และผลการดำเนินงานของบริษัท
- การจัดการความเสี่ยงองค์กร
- การกำกับดูแลกิจการและการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การให้ข้อมูลที่โปร่งใสตามมาตรฐานของประเทศไทยและสากล
- การเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นสามารถเสนอข้อคิดเห็นและข้อเรียกร้อง รวมถึงถกประเด็นคำถามเกี่ยวกับการบริหารจัดการของต่อบริษัท
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- ประชุมสรุปผลการดำเนินงานโดยผู้บริหารระดับสูง ทุกไตรมาส
- พบนักลงทุนในประเทศและนักลงทุนต่างประเทศเป็นประจำ
- ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ทุกปี
- เปิดโอกาสให้นักลงทุนเข้าเยี่ยมชมกิจการ ทุกปีตามความเหมาะสม
- เผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์บริษัทอย่างทันท่วงที ตลอดเวลา
-
พันธมิตรทางธุรกิจ
-
ผู้มีส่วนได้เสีย 6. พันธมิตรทางธุรกิจ
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- ความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจ
- การใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาสินค้าและการจัดการ
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- การดำเนินงานด้วยความซื่อสัตย์
- การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
- ทิศทางการดำเนินธุรกิจในอนาคต
- ความร่วมมือในการทำงานและการส่งเสริมด้านคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่สม่ำเสมอ
- มีความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินคู่ค้า
- ได้รับสินค้าที่เป็นไปตามมาตรฐานและตามกฎหมายที่กำหนด
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- ขยายระยะเวลา credit term ให้กับคู่ค้า
- การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐาน และตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- การร่วมโครงการยกระดับด้านความปลอดภัยร่วมกับคู่ค้าที่เป็นหน่วยซ่อมบำรุง
- การดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐาน และตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
- การให้ความร่วมมือเพื่อทำงานให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของทางภาครัฐฯ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารทั้งภายในและต่างประเทศ
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- การพบปะ การประชุม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การติดต่อผ่านตัวแทนของบริษัท และการเยี่ยมชมดูงาน
- ประชุมกับบริษัทผู้ผลิตอากาศยานและชิ้นส่วนต่างๆเพื่อรับข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
- ตัวแทนจากบริษัทผู้ผลิตเครื่องบินเยี่ยมชม บจ. ไทยแอร์เอเชียช่องทางติดต่อตลอด 24 ชั่วโมง ระหว่างทีมงานวิศวกรรมของ บจ. ไทยแอร์เอเชีย และทีมวิศวกรรมของบริษัทผู้ผลิต
- การรายงานผลการดำเนินงานและประสิทธิภาพในการทำงาน และการประเมินคู่ค้าประจำปี
-
สถาบันทางการเงิน
-
ผู้มีส่วนได้เสีย 7. สถาบันทางการเงิน
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การดำเนินธุรกิจได้ตามเป้าหมายภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- ความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
- การจัดการความเสี่ยงองค์กร
- การกำกับดูแลกิจการและการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส
- นโยบายทางการเงินที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและกลยุทธ์ของบริษัท
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การให้ข้อมูลผลการดำเนินงานตามมาตรฐานสากล
- การรับฟังข้อเสนอและข้อคิดเห็นต่อกระบวนการดำเนินธุรกิจ
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- พบปะ ประชุม พูดคุย เกี่ยวกับผลประกอบการและโครงการต่างๆ ของบริษัท 2 ครั้งต่อปี
- ติดต่อประสานงานเกี่ยวกับการทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดปี
- แจ้งและจัดส่งข้อมูลและรายงานการทำธุรกรรมต่างๆ ทุกเดือน
- สัมมนาและประชุมเชิงวิชาการเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ตลาดเงินและตลาดทุน ทุกไตรมาส
-
สื่อมวลชน
-
ผู้มีส่วนได้เสีย 8. สื่อมวลชน
ประโยชน์ที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับ
- การได้รับข่าวสารของบริษัทที่เป็นทางการ เพื่อการนำเสนอข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริหารและพนักงาน เพื่อให้ทราบถึงวิสัยทัศน์เเละจุดยืน ของบริษัท
- การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท
ความคาดหวัง/ความต้องการ
- ความโปร่งใสในการให้ข้อมูลบริษัท อย่างถูกต้องและรอบด้าน
- ความรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ต่อการตอบสนองด้านข่าวสาร โดยเฉพาะในภาวะวิกฤต
- วิสัยทัศน์ของบริษัท และมุมมองภาพรวมต่ออุตสาหกรรม ในฐานะผู้นำสายการบินราคาประหยัด
การดำเนินงานเพื่อตอบสนองความคาดหวัง/ความต้องการ
- การแสดงวิสัยทัศน์ต่อสถานการณ์ปัจจุบันของบริษัทอย่างน้อยทุกไตรมาส
- การสร้างความเชื่อมั่นต่อความมั่งคงทางธุรกิจ
- การสร้างชุมชนด้านข่าวสาร อาทิ กลุ่มไลน์ ระหว่างฝ่ายสื่อสารองค์กร กับสื่อมวลชนกลุ่มต่างๆ เพื่อการนำเสนอข่าวสารอย่างเท่าทันท่วงที
- การสร้างวัฒนธรรมของฝ่ายสื่อสารองค์กรให้มีความพร้อมในการบริหารการสื่อสาร สามารถติดต่อได้ตลอดเวลา เเละนำเสนอข่าวที่ถูกต้อง รวดเร็ว โดยเฉพาะในภาวะวิกฤต
ช่องทางการมีส่วนร่วม และความถี่
- การส่งข่าวประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ผ่านช่องทางอีเมล กลุ่มไลน์ของสื่อมวลชน เป็นประจำ อย่างน้อย 2 ข่าวต่อสัปดาห์
- การจัดงานแถลงข่าวทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค รวมทั้งต่างประเทศ ทุกไตรมาส
- การพบปะสื่อมวลชนประจำปีทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค
- การร่วมกิจกรรมสัมมนา เสวนา หรืออื่นๆ ที่จัดขึ้นโดยองค์กรสื่อมวลชน และการสนับสนุนกิจกรรมขององค์กรสื่อทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นประจำ
- การสื่อสารกับสื่อมวลชนผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ