โดย บจ. ไทยแอร์เอเชีย แบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเป็น 6 กลุ่มหลัก คือ หน่วยงานภาครัฐ ลูกค้า (ผู้โดยสาร) ชุมชน พนักงาน (Allstars) นักลงทุน/สถาบันการเงิน และพันธมิตรธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการสอบถามและรับฟังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มโดยตรง เพื่อได้รับข้อมูลครบถ้วนในทุกมิติ นำมาพัฒนาและกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจให้ตอบสนองเท่าทันความต้องการและสร้างคุณค่าร่วมกันได้ในระยะยาว
-
หน่วยงานภาครัฐ
-
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ช่องทางการสื่อสาร/รับฟัง ความถี่ ความคาดหวัง/ ประเด็นที่ให้ความสำคัญ 1. หน่วยงานภาครัฐ
- ร่วมประชุมหารือกับผู้บริหารฝ่ายปกครองและองค์กรผู้กำกับดูแล
- อย่างน้อย 5 ครั้ง
- หน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงาน ผู้ออกใบอนุญาตและทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินธุรกิจ
- การรายงานผลให้กับหน่วยงานราชการ
- ทุกเดือน
- บจ. ไทยแอร์เอเชีย จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายและเพื่อให้ การดำเนินงานเกิดความสอดคล้องของระเบียบหลักเกณฑ์ของภาครัฐและการทำธุรกิจสายการบิน จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจในประเด็นเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการของหน่วยงานของราชการ
- ทุกเดือน
- ทำงานสอดรับกับนโยบายสนับสนุนการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
- อย่างน้อย 3 โครงการ
- ความร่วมมือในการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวจากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ สามารถช่วยกระตุ้นตัวเลขนักท่องเที่ยวและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรได้ โดยองค์กรการท่องเที่ยวนั้นคาดหวังให้ บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการเพื่อสร้างความต้องการในการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ความสัมพันธ์อันดีกับหน่วยงานของรัฐในแต่ละจังหวัดที่เป็นจุดหมายปลายทาง ช่วยให้การติดต่อ ประสานงานและการทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งมีความ คาดหวังของหน่วยงานท้องถิ่นที่มีต่อเราคือ การร่วมสนับสนุนกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ
-
ลูกค้า (ผู้โดยสาร)
-
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ช่องทางการสื่อสาร/รับฟัง ความถี่ ความคาดหวัง/ ประเด็นที่ให้ความสำคัญ 2. ลูกค้า (ผู้โดยสาร)
- รับฟังความคิดเห็นของผู้โดยสาร โดยผ่านการสำรวจ ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction survey )
- สำรวจความพึงพอใจของลูกค้า ทุกไตรมาส
- องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้า เพื่อดำเนินการให้บริการที่ตอบสนองความพึงพอใจ ของลูกค้า และเมื่อลูกค้าพอใจจะ กลับมาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสำหรับลูกค้าของ บจ. ไทยแอร์เอเชีย จะมีความคาดหวังให้การเดินทาง ไปถึงจุดหมาย ปลอดภัย ตรงต่อเวลา และขั้นตอนในการใช้บริการที่ สะดวกสบาย สามารถติดต่อสอบถามได้เมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
- การร้องเรียนผ่านช่องทางรับ เรื่องต่างๆ เช่น ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ Live Chat, Twitter (Ask AirAsia)
- เวลาทำการของทุกวัน และตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับ Live Chat
- การพบปะลูกค้าผ่านสำนักงานขาย และศูนย์บริการการท่องเที่ยว แอร์เอเชีย
- เวลาทำการของทุกวัน
-
ชุมชน
-
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ช่องทางการสื่อสาร/รับฟัง ความถี่ ความคาดหวัง/ ประเด็นที่ให้ความสำคัญ 3. ชุมชน
- การลงพื้นที่ต่อเนื่องในการพัฒนา และส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในโครงการ Journey D
- จำนวน 4 ชุมชน ประชุมรายเดือนทุกเดือน การลงพื้นที่เพื่อพัฒนาตลอดปี
- เวิร์กช็อป 6 ครั้ง ต่อชุมชน
- ทริปทดสอบ 6 ครั้ง ต่อชุมชน
- รวมทั้งหมด 24 ทริป
- การมีส่วนร่วมของ บจ. ไทยแอร์เอเชีย ในการเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนมีความแข็งแรงและยั่งยืน
การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี เพื่อให้เกิดคุณค่าร่วมกันใน ระยะยาว สร้างความผูกพัน ไว้เนื้อเชื่อใจจากชุมชน ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แบรนด์ด้วย
- การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมเรื่องความเท่าเทียมในการเดินทาง โดยเครื่องบิน ผ่านโครงการ แอร์เอเชียอารยสถาปัตย์ (AirAsia friendly design)
- จำนวน 3 ครั้ง เพื่อสร้างการตระหนักรู้ในการเข้าถึงได้ทุกที่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อทุกคน ทุกวัย ทุกสถานะ
- การจัดกิจกรรมเพื่อชุมชนและ สังคมผ่านงานแอร์เอเชีย "ตลาดนัดบินคุ้ม คุณภาพครบ"
- จำนวน 3 ครั้ง
มกราคม : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
กุมภาพันธ์ : เชียงราย
เมษายน : ภูเก็ต
- การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับชุมชน ผ่านโครงการ AirAsia Fly To Dreams Tennis Tournament มอบอุปกรณ์กีฬา สนามฟุตบอล สนามบาสให้กับชุมชน และการสนับสนุนสโมสรฟุตบอลต่างๆ รวมถึงจัดคลินิกฟุตบอล นำนักฟุตบอล ทีมชาติไปสอนฟุตบอลให้กับเยาวชนในชุมชนต่างๆ
- เฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง
สื่อมวลชน
- กิจกรรมสื่อสารและ เข้าถึงสื่อมวลชน เช่น งานแถลงข่าว สัมภาษณ์กลุ่ม ฯลฯ
ข่าวประชาสัมพันธ์
เที่ยวบินปฐมฤกษ์
ทริปสื่อมวลชน
เยี่ยมเยียนสื่อมวลชน
- 20 ครั้ง (ต่างประเทศ 12 ครั้ง กรุงเทพฯ 5 ครั้ง ภูมิภาค 3 ครั้ง)
79 ครั้ง
21 ครั้ง
17 ครั้ง
5 ครั้ง
(แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 1 ครั้ง และภูมิภาค 4 ครั้ง)
- สื่อมวลชน เป็นตัวกลางการสื่อสารทางการตลาดและภาพลักษณ์ ระหว่าง บริษัท และผู้มีส่วนได้เสีย ในวงกว้างทุกคน ผ่านข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมต่างๆ ของบริษัท รวมไปถึงการสื่อสารในภาวะวิกฤต ซึ่งสื่อมวลชนจะมีบทบาทสำคัญ ในการกำหนดทิศทางของข่าว ที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
-
พนักงาน (ออลสตาร์)
-
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ช่องทางการสื่อสาร/รับฟัง ความถี่ ความคาดหวัง/ ประเด็นที่ให้ความสำคัญ 4. พนักงาน (ออลสตาร์)
- การสื่อสารข่าวสารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้ระบบ Workplace by Facebook
- ทุกวัน
- พนักงาน คือหัวใจสำคัญ ในการขับเคลื่อนธุรกิจของ บจ. ไทยแอร์เอเชีย โดยพนักงาน เป็นส่วนสำคัญในการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า จึงจำเป็นต้องทำ ความเข้าใจถึงความต้องการ ความท้าทายและแรงบันดาลใจ และริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมให้สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร ทั้งนี้พนักงานมีความคาดหวัง ให้องค์กรรับฟังความคิดเห็น ชื่นชมผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ ให้การประเมินผลและผลตอบแทนอย่างเป็นธรรม และมีการพัฒนาศักยภาพให้กับพนักงาน อย่างไม่หยุดยั้ง
- การประเมินศักยภาพของพนักงานภายในองค์กรอย่างสม่ำเสมอ
- ทุก 6 เดือน
- การประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้บริหาร
- ทุกสัปดาห์
- การประชุมตัวแทนหน่วยงานเพื่อแจ้งข่าวสาร หรือหารือแก้ไขปัญหาจากการดำเนินงาน (Operation meeting)
- ทุกเดือน
- การจัดกิจกรรมเพื่อสานสัมพันธ์พนักงานผ่าน Allstars Do Good ส่งเสริมให้พนักงานทำงานจิตอาสาตามที่แต่ละคนถนัด
- ทุกเดือน
- การจัดพื้นที่ให้พนักงานมีโอกาส ในการแสดงความสามารถตาม ความถนัด เช่น ชมรมกีฬา
- ทุกเดือน
- ผู้บริหารเยี่ยมเยียนพนักงาน เดือนละครั้ง (Family Visit)
- เดือนละครั้ง
- งานเลี้ยงอาหารค่ำพนักงาน ประจำปี (Annual Dinner Party)
- ปีละครั้ง
-
นักลงทุน
-
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ช่องทางการสื่อสาร/รับฟัง ความถี่ ความคาดหวัง/ ประเด็นที่ให้ความสำคัญ 5. นักลงทุน
- ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน โดยผู้บริหารระดับสูง
- ทุกไตรมาส
- นักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ สม่ำเสมอ ตรงเวลาและทันเหตุการณ์ โดยเปิดเผยอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และเสมอภาคในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุน
- การพบนักลงทุนในประเทศ และนักลงทุนต่างประเทศ
- 13 ครั้ง
- ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
- ทุกปี
- เยี่ยมชมกิจการ
- ทุกปี
- เว็บไซด์บริษัท
- ตลอดเวลา
สถาบันทางการเงิน
- พบปะ ประชุม พูดคุย เกี่ยวกับ ผลประกอบการและโครงการต่างๆ ของบริษัท
- 2 ครั้งต่อปี
- การสนับสนุนจากสถาบันการเงินต่างๆ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ ทำให้สามารถสั่งซื้อเครื่องบินได้ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยความคาดหวังของกลุ่มสถาบันการเงินคือ การเติบโตของบริษัท เป็นไปตามเป้าหมาย และมีวินัยทางการเงินที่ดี
- ติดต่อประสานงาน เกี่ยวกับการทำธุรกรรมต่างๆ
- ตลอดปี
- แจ้งและจัดส่งข้อมูลและรายงาน การทำธุรกรรมต่างๆ
- ทุกเดือน
- สัมมนาและประชุมเชิงวิชาการ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ ตลาดเงิน และตลาดทุน
- ทุกเดือน
-
พันธมิตรทางธุรกิจ
-
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ช่องทางการสื่อสาร/รับฟัง ความถี่ ความคาดหวัง/ ประเด็นที่ให้ความสำคัญ 6. พันธมิตรทางธุรกิจ เช่น ผู้ผลิตเครื่องบิน ผู้ผลิตเครื่องยนต์ ศูนย์ซ่อมเครื่องบิน
- การพบปะ การประชุม โทรศัพท์ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การติดต่อผ่านตัวแทนของบริษัท
- ทุกเดือน
- เราต้องทำงานร่วมกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องบิน บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ และศูนย์ซ่อมเครื่องบินและเครื่องยนต์ ซึ่งนอกจากจะเป็นคู่ค้าผู้ผลิตเครื่องบินและเครื่องยนต์ให้เรานำมาใช้ประกอบธุรกิจแล้ว ยังคอยสนับสนุนการปฏิบัติงาน เช่น การตรวจซ่อมประจำวัน หรือในวาระต่างๆ โดยจะให้คำแนะนำในการซ่อมบำรุง เพื่อทำให้เครื่องบินสามารถให้บริการได้อย่างราบรื่น พร้อมรับฟังข้อแนะนำจากบริษัทเพื่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้ดี ยิ่งขึ้น และเผยแพร่วิธีการซ่อมบำรุงให้กับสายการบินอื่น นับเป็นประโยชน์ในภาพรวม
- ประชุมทางไกลกับบริษัทผู้ผลิต เพื่อรับข้อมูลอัปเดตต่างๆ
- ทุกเดือน
- บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินและเครื่องยนต์เยี่ยมชมฝูงบิน บจ. ไทยแอร์เอเชีย
- 2 ครั้งต่อปี
- ประชุมหาหรือกับบริษัทผู้ผลิต เครื่องบินและเครื่องยนต์
- ทุกปี
- แชตรูม 24 ชั่วโมง ที่มีทีมงานวิศวกรรมของ บจ. ไทยแอร์เอเชีย และทีมวิศวกรรมของบริษัทผู้ผลิต
- ตลอดเวลา